Call Center

เปลือกตาอักเสบ

ต่อม meibomian gland ทำงานผิดปกติ
(meibomian gland dysfunction MGD)

คือภาวะที่ต่อม meibomian ทำงานผิดปกติ โดยมักกระจายไปทั่วทั้งขอบเปลือกตา สาเหตุจากบริเวณปลายท่อของต่อมอุดตัน และหรือสารที่สร้างจากต่อมมีปริมาณและคุณภาพเปลี่ยนไป ส่งผลให้ฟิลม์น้ำตาเปลี่ยนไป หรือบางรายต่อมสร้างไขมันน้อยโดยโดยไม่มีการอุดตันก่อให้เกิดการระคายเคือง อักเสบ และนำมาซึ่งโรคผิวตาต่างๆ

ปัจจัยเสี่ยง

  1. มีโรคทางตา เช่น เปลือกตาอักเสบเรื้องรัง เปลือกตาติดเชื้อ Demodex เยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ ภาวะตาแห้ง การใส่ contact lens
  2. โรคทางกาย สูงอายุ วัยทอง โรคความดันโลหิตสูง, pemphigoid, psoriasis, โรคแพ้ยา steven-johnson เป็นต้น
  3. ผลข้างเคียงจากการใช้ยาต่าง ๆ เช่น ยาต้านฮอร์โมนแอนโดรเจน ยารักษาต่อมลูกหมากโต ฮอร์โมนรักษาวัยทอง ยาแก้แพ้, retinoid และยารักษาโรคซึมเศร้า เป็นต้น

อาการ ผู้ป่วยอาจมาด้วยอาการที่เกิดจากต่อม meibomian เช่น ขอบเปลือกตาอักเสบ สารคัดหลั่งจากต่อมเปลี่ยนไป หรืออาการจากโรคผิวตาที่เป็นผลจากภาวะ MGD ทำให้น้ำตาระเหยออกมามาก มีภาวะตาแห้ง ทำให้มีอาการของตาแห้ง ได้แก่ แสบตา เคืองตา เจ็บตา ตามัว น้ำตาไหล เป็นต้น

โรคต่างๆ ที่เกิดตามหลังภาวะ MGD

  1. ผิวกระจกตาหลุดลอก (punctate epithelial erosion) เนื่องจากผิวกระจกตาถูไถกับรูเปิดของต่อม meibomian และเยื่อบุตาที่อักเสบตลอดเวลา
  2. Superior limbic keratoconjunctivitis (SLK) เป็นการอักเสบบริเวณตาขาวต่อตาดำอันเนื่องมาจากรูเปิดของต่อม meibomian ถูไถบริเวณนี้มากกว่าปกติ
  3. เซลล์ต้นกำเนิดเยื่อบุผิวกระจกตาบกพร่อง (limbal stem cell deficiency) เกิดจากรูเปิดของต่อม meibomian มีการอักเสบและของรูเปิดเกิด keratinization แข็งและด้านกว่าปกติจนไปทำลาย limbal stem cell บางส่วน ก่อให้เกิดผลเสียอื่น ๆ ตามมา
  4. แผลเยื่อบุผิวกระจกตาเรื้อรัง (persistent epithelial และ film น้ำตาสลายคุม epithelium ได้ไม่ดี defect) จากรูเปิดของต่อม meibomian ที่หนาแข็งตัวครูดกับผิวกระจกตาตลอดเวลา ทำให้แผลไม่หายกลายเป็นเรื้อรังได้
  5. มีโรคของเปลือกตาอื่น ๆ ตามมาได้ เช่น ขนตาเก หนังตาม้วน เปลือกตาอักเสบเรื้อรัง กุ้งยิงเรื้อรัง (chalazion) เป็นต้น

การรักษา

  1. การรักษาสุขลักษณะของเปลือกตา (lid hygiene) ซึ่งผู้ป่วยสามารถทำได้เอง ประกอบด้วย การทำความสะอาดเปลือกตา ประคบอุ่น และนอกเปลือกตา

    การทำความสะอาดเปลือกตา อาจใช้แชมพาเด็กผสมน้ำ หรือใช้แผ่นสำลีชุบน้ำสะอาด ตลอดจนใช้ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปในรูปเจลเช็ดขอบตา เพื่อขจัดไขมัน เศษเซลส์ตกค้าง ขี้ตา แบคทีเรียที่มาสะสมอยู่ให้ออกไป

    การกระคบอุ่น เนื่องจาก meibum ที่สร้างจากต่อม meibomian ในผู้ป่วยภาวะ MGD มีคุณสมบัติผิดไป มีจุดหลอมละลายสูงขึ้น ทำให้มีการอุดตันคั่งค้าง การประคบอุ่นประมาณ 40 องศาเซลเซียสใช้เวลา 5-15 นาที ทำ 1-2 ครั้งต่อวัน ทำให้ไขมันละลายได้ดีขึ้น ขับออกได้ง่าย

    การนวดเปลือกตา เพื่อรีดไขมันที่ค้างอยู่ให้ออกมา ไม่มีการคั่งค้างอยู่เป็นบ่อเกิดการสะสมเชื้อโรค

    การรักษาสุขลักษณะของเปลือกตาดังกล่าวข้างต้น ผู้ป่วยควรทำได้เอง ควรทำประจำอย่างสม่ำเสมอ

  2. ใช้น้ำตาเทียมที่มีส่วนของไขมัน ที่มีความหนืดสูง เพื่อเพิ่มความคงตัวของฟิลม์น้ำตา ทำให้น้ำตาอยู่ได้นานขึ้น
  3. ยาปฏิชีวนะ เนื่อจากภาวะ MGD มักจะมีการติดเชื้อ bacteria ซึ่งอาจเป็นยาหยอดตาหรือขี้ผึ้งป้าย ตลอดจนยารับประทาน
  4. ยาต้านการอักเสบประเภท steroid และ cyclosporine ซึ่งไม่ใช่ยาหลัก อาจให้เป็นครั้งคราวในช่วงเวลาสั้น ๆ
  5. กรดไขมัน Omega 3 มีรายงานว่าช่วยให้น้ำตาคงตัวดีขึ้น
  6. การรักษาอื่นๆ ที่มีรายงานว่าได้ผลอยู่บ้างได้แก่ autologous serum, การอุดท่อน้ำตา การผ่าตัดโดยใช้เยื่อรก ตลอดจนทางแก้ไข เปลือกตาที่ผิดปกติ เช่น ภาวะ entropion, ectropion เป็นต้น
บทความโดย
ศ.พญ. สกาวรัตน์ คุณาวิศรุต
จักษุแพทย์ รพ. ตา หู คอ จมูก