Call Center

การแก้ไขภาวะท่อน้ำตาตันด้วยการผ่าตัด (Dacryocystorhinostomy, DCR)

การแก้ไขภาวะท่อน้ำตาตันด้วยการผ่าตัด (Dacryocystorhinostomy, DCR)
พญ. วิรงค์รอง กานต์สิริธานนท์
บทความโดย
พญ. วิรงค์รอง กานต์สิริธานนท์
จักษุแพทย์เชี่ยวชาญด้านตกแต่ง และเสริมสร้างเบ้าตา รพ. ตา หู คอ จมูก

ภาวะท่อน้ำตาตันในผู้ใหญ่ แก้ไขด้วยวิธีการผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดสามารถทำได้ 2 แบบ

  1. แบบมีแผลผ่าตัด (external DCR)
  2. แบบส่องกล้องหรือไร้แผล (Endoscopic DCR)

ทั้ง2วิธี แพทย์จะสร้างทางระบายน้ำตาใหม่ ต่อเชื่อมจากถุงน้ำตา ลงในจมูก ซึ่งการผ่าตัดจะมีการนำกระดูกบางส่วนออก เพื่อเชื่อมทางใหม่ หลังผ่าตัดจะมีการใส่สายซิลิโคนจากหัวตา ผ่านทางระบายใหม่ต่อลงจมูก

  1. แบบมีแผลผ่าตัด เป็นวิธีผ่าตัดที่มีมานาน ส่วนลงแผลบริเวณร่องน้ำตา ยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร
    • ข้อดี: เสียเลือดน้อย ฉีดยาชาทำได้ ไม่ต้องค้าง รพ. ประสบความสำเร็จสูง (90-95%) ประหยัดค่าใช้จ่าย ฟื้นตัวได้ไว
    • ข้อด้อย: มีแผล วิธีนี้เหมาะกับผู้ป่วยสูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัวเยอะ มีทานยาละลายลิ่มเลือด เคยผ่าตัดแล้วตัน เคยได้รับอุบัติเหตุบนใบหน้า
  2. แบบส่องกล้อง เป็นวิธีที่ใช้กล้องมาช่วยผ่าตัด ทำผ่านรูจมูก ไม่มีแผลด้านนอก โดยมากต้องดมยาสลบขณะผ่าตัด วิธีนี้ประสบความสำเร็จ 80-90% ขึ้นกับความชำนาญของแพทย์
    • ข้อดี: ไม่มีแผล
    • ข้อด้อย: เนื่องจากต้องดมยาสลบจึงควรพักที่รพ.อย่างน้อย1คืน เสียเลือดมากกว่าวิธีแรก หลังผ่าตัดเยื่อบุโพรงจมูกจะบวมนานกว่า ค่าใช้จ่ายสูงกว่า

สายซิลิโคนจะใส่ไว้หลังผ่าตัด 3-12 เดือน ขึ้นกับผู้ป่วยแต่ละราย

ผู้ป่วยแต่ละคนมีความเหมาะสมกับการผ่าตัดแต่ละวิธีไม่เหมือนกัน ขึ้นกับอายุ โรคประจำตัวฯลฯ เพื่อความปลอดภัยและความเหมาะสม ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณาวิธีผ่าตัดที่เหมาะสมกับคุณได้ค่ะ... ^_^