Call Center

ตาแห้ง ตอนที่ 2

ตาแห้ง ตอนที่ 2
บทความโดย
ศ.พญ. สกาวรัตน์ คุณาวิศรุต
จักษุแพทย์ รพ. ตา หู คอ จมูก

อาการไม่สบายตาต่างๆ จากภาวะตาแห้ง น่าจะเกิดจาก

  1. การที่น้ำตามี osmolarity ที่สูงขึ้น ในภาวะตาแห้ง กระตุ้นให้เกิดการอักเสบ ซึ่งจะมีการปล่อยสารเคมี cytokine ทำให้เกิดภาวะ apoptosis (การตายของเซลส์) ของชั้น epithelium ของเยื่อบุตาและกระจกตา, goblet cell ในเยื่อบุตาที่มีหน้าที่สร้างน้ำตาชั้น mucin คือทำอันตรายต่อเซลส์ผิวตา
  2. Tear instability การทรงตัวของน้ำตาไม่ดี มีการแตกตัวเร็ว ก่อให้เกิดการอักเสบได้เช่นกัน ทั้ง epithelium และ goblet cell ของผิวตาถูกทำลาย

กล่าวคือ การมี osmolarity สูงก่อให้เกิดความผิดปกติดังกล่าว จะนำไปสู่ tear instability และขณะเดียวกัน น้ำตาที่แตกตัวเร็ว นำไปสู่ค่า osmolarity ที่เพิ่มขึ้น หรือนัยหนึ่ง อุบัติการณ์ทั้ง 2 เสริมซึ่งกันและกัน

อาการตาแห้งมีตั้งแต่เป็นเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปจนถึงมาก Delphi ได้ให้ classification ของอาการตาแห้งไว้ดังนี้

  1. มีอาการเล็กน้อย เป็นบางครั้ง โดยมักเป็นเวลา มีปัจจัยกระตุ้น เช่น พัดลมเป่า ใช้คอมพิวเตอร์นานเกินไป พอพักสายตาสักครู่อาการก็หาย ไม่จำเป็นต้องถึงกับพักงาน กรณีนี้การตรวจอาจไม่พบสิ่งผิ ดปกติเลย
  2. อาการปานกลาง เป็นบางครั้ง แต่เรื้อรัง มีอาการแม้ไม่มีอะไรกระตุ้น ต้องลดกิจกรรมที่ทำประจำลง ต้องละหรือพักสายตาสักครู่ ในกลุ่มนี้อาจตรวจตาไม่พบสิ่งผิดปกติ หรือมีตาแดงเล็กน้อย ตรวจ TBUT และ Schirmer’s ได้น้อยกว่า 10
  3. ค่อนข้างรุนแรง มีอาการต่อเนื่อง มีกจะมีอาการตามัวลงด้วย ต้องลดกิจกรรมประจำ ตามักจะแดง ตรววจหาความผิดปกติของผิวกระจกตาพบ superficial punctate keratitis หรือบางรายพบ filament keratitis ผู้ป่วยกลุ่มนี้ตรวจมักจะพบ TBUT และ Schirmer’s น้อยกว่า 5
  4. อาการรุนแรง มีผลต่อการดำรงชีวิต ต้องหยุดพักงาน มักจะมีตาแดง ตามัว ผิว epithelium หลุด มักจะมีขี้ตาเป็นเมือก หรือบางคนออกเป็น filament มีลักษณะ meibomian gland dysfunction บางคนมีขนตาเก การตรวจ TBUT และ Schirmer มักจะมีค่าน้อยกว่า 2

ความรุนแรงระดับต่างกัน ทำให้การรักษาแตกต่างกัน