แสงสีฟ้า ตอนที่ 1
แสงเป็นอนูของแม่เหล็กไฟฟ้าที่เคลื่อนเป็นคลื่น คลื่นนี้มีความแรง (strength) และความยาวต่าง ๆ กัน โดยความยาวคลื่นของแสงวัดออกมามีหน่วยเป็น นานอเมตร (nanometer = nm) แต่ละความยาวคลื่นใหสีแตกต่างกัน มีชื่อต่างๆ จากคลื่นสั้นไปยาว ได้แก่ gamma, x-ray, uv visible, infrared, radio เป็นต้น ความยาวคลื่นที่ตาคนเรามองเห็นคือขนาด 400-700 nm โดยไล่ไปจากสี violet, indigo, blue, green, yellow, red เป็นสีรุ้งกินน้ำ แสงคลื่นสั้นจะมีพลังงานสูง ดังนั้นสีฟ้าลง รวมทั้งสี indigo และ violet ซึ่งมีความยาวคลื่น 380-500 nm ที่เรามองเห็นเรียกว่า high energy visible light = HEV จึงเป็นแสงที่ตาเรามองเห็นที่มีพลังงานสูง แสงกระจัดกระจาย (scatter) ทำให้เกิด glare มี flicker ได้มาก ทำให้ไม่สบายตามาก
ต้นกำเหนิดหรือแสง HEV มาจากไหน ในธรรมชาติแสงนี้มาจากดวงอาทิตย์มากที่สุด กล่าวกันว่าแสงจากดวงอาทิตย์ให้แสงสีฟ้ามากที่สุด อีกทั้งแสงสีฟ้ากระจัดกระจายมาก จึงทำให้เราเห็นท้องฟ้าเป็นสีฟ้า ในปัจจุบัน แสงสีฟ้ายังมาจากอุปกรณ์ทางไฟฟ้าต่างๆ ที่มนุษย์เราทำขึ้นมา หลอดไฟฟ้าธรรมดา ตลอดจนหลอด halogen ให้แสงสีฟ้า 3% หลอดฟลูออเรสเซนต์ให้ 26% ถ้าเป็นหลอด cool white LED ให้ถึง 35% นอกจากนั้น เครื่อง digital device ต่างๆ ล้วนให้แสงสีฟ้าออกมาทางหน้าจอ เช่น จอ TV, Computer, Lab top, Smartphone, Tablet อีกทั้งเครื่องต่าง ๆ นิยมใช้หลอดเบื้องหลังเป็นหลอด LED เพื่อให้หน้าจอสว่าง มองเห็นชัดขึ้น ซึ่งย่อมให้แสงสีฟ้ามากขึ้น
แสงสีฟ้าเมื่อเข้าตาเราจะผ่านกระจกตา แก้วตา เข้าถึงจอตาได้มากว่าแสง UV ซึ่งกระจกตาและแก้วตาจะดูดซับไว้ได้บางส่วน ไปถึงจอตาได้น้อยกว่า
แสง HEV ที่อาจทำลายจอตาคนเราในปัจจุบัน พบว่า แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มสีฟ้าอมม่วง (blue violet) มีความยาวคลื่น 380-450 nm เรียกกันว่า กลุ่มสีฟ้าไม่ดี (bad blue) ส่วนอีกกลุ่มสีฟ้าอมเขียว (blue green) มีความยาวคลื่น 450-500 nm เรียกกันว่าสีฟ้าดี (good blue) เนื่องจากในปัจจุบันเชื่อว่า แสงสีฟ้าไม่ใช่มีอันตรายหรือไม่ดีอย่างเดียว มีที่ดีมีประโยชน์อยู่