แสงสีฟ้า (ตอนที่ 3)
ประโยชน์ของแสงสีฟ้า
แสงสีฟ้า (ที่จริงหมายถึง HEV high energy visible light ครอบคลุมแสงความยาวคลื่น 380-500 nm ซึ่งจะรวมสีคราม สีม่วง เข้าไปด้วย) สำหรับสีฟ้าอมเขียว (blue turquoise) ขนาด 450-500 nm เรียกกันว่าสีฟ้าดี (good blue) นั้นมีประโยชน์อย่างไร
ช่วยให้การมองเห็นในที่แสงน้อยหรือเวลากลางคืนดีขึ้น (scotopic vision) ดังมีคำพูดที่ว่า สาวที่จะไปงานราตรี ควรแต่งชุดสีฟ้าจะงามเด่นกว่าสีอื่น
ใช้เป็น phototherapy ในบางสภาวะ เช่น ตัวเหลืองในเด็กอ่อน bilirubin ที่มีมากเกินไป โดยแสงสีฟ้าทำปฏิกิริยากับ bilirubin กลายเป็นสารอื่นซึ่งสลายได้ง่าย ในผู้ป่วยโรค Crigler Najjar ที่ร่างกายขาด enzyme บางอย่าง ต้องรักษาด้วยการเปลี่ยนตับ ระหว่างรอผ่าตัดแสงสีฟ้าจะช่วยประทังไปก่อน
แสงสีฟ้าทำหน้าที่คล้าย antibiotic จะมีปฏิกิริยากับ porphyria เกิดอนุมูลอิสระที่ทำลายเชื้อ bacteria (แต่ถ้ามากไปก็อาจทำให้เชื้อเติบโตเพิ่มจำนวน) โดยพบว่า bacteria ชนิด gm+ve จะไวกว่า gm-ve และ bacteria อยู่ในภาวะได้ออกซิเจนน้อย จะได้ผลไวกว่า ฆ่าเชื้อ helicobacter pylori ที่เป็นสาเหตุของโรคกระเพาะ รวมทั้งฆ่า bacteria ที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคในฟัน ตลอดจนเชื้อที่เกิดในโรงพยาบาล (hospital acquired) อีกทั้งมีรายงานใช้ในภาวะ pseudomonas keratitis ได้
ลด inflammatory cytokine ที่เป็นสารเคมีก่อให้เกิดปฏิกิริยาอักเสบ ทำให้ลดการอักเสบลง
ใช้รักษาโรคผิวหนัง เช่น สิว, keratosis, psoriasis ตลอดจน eczema ต่างๆ
ลดภาวะซึมเศร้า กระตุ้นตื่นตัว กระปี้กระเปร่า ช่วยความจำ การเรียนรู้ ปรับอารมณ์
ช่วยปรับ circadian rhythm (นาฬิกาชีวิต) ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ตอนกลางวันให้ตื่นตัวจากการมีสาร cortisol และ serotonin ตกกลางคืนมีการสร้างสาร melatonin ให้อยากหลับพักผ่อน วงจรนี้จะปกติดี ส่วนหนึ่งต้องได้รับแสงสีฟ้าที่เพียงพอในเวลากลางวัน
ในสัตว์ทดลอง พบว่าแสงสีฟ้ามีผลต่อการเผาผลาญ (metabolism) ในร่างกาย บ้างก็ว่ามีส่วนให้สัตว์ปกป้องตัวเองจากภยันตราย