Call Center

ตาบอดสี ตอนที่ 2

คงจะมาจากภาษาอังกฤษที่ว่า color blind ซึ่งส่วนมากเป็นมาแต่กำเหนิด (ส่วนน้อยเป็นทีหลัง) ความเป็นจริงคนตาลอดสีใช่ว่าจะมองไม่เห็นสี เพียงแต่เห็นสีผิดไปจากคนอื่น เช่น คนบอดสีแดง ใช่ว่าจะมองไม่เห็นวัตถุสีแดงเลย เพียงแต่เห็นเป็นสีอื่น เช่น ออกเทา ๆ แต่คนที่บอดสีแดงแม้ว่าจะเห็นสีเทา เขาก็เรียกสีนั้นว่าสีแดง เพราะเขาถูกสอนว่าสีที่เขาเห็นออกสีเทาอยู่นั้น คนทั่วไปเรียกว่าสีแดง พูดนัยหนึ่งก็คือ เขาเรียกได้ถูกต้อง (name the color correctly) จึงน่าจะเรียกว่า abnormal color vision มากกว่า color blind หรือการเห็นสีผิดปกติมากกว่าตาบอดสี แต่เราก็ใช้คำตาบอดสีเรื่อยมาจนทุกวันนี้เป็นที่เข้าใจกัน ถ้าพูดว่าตาบอดสี คือการเห็นสีผิดไปจากคนปกติ

ภาวะตาบอดสีแต่กำเหนิดเป็นที่รู้จักกันมาหลายร้อยปี มักเป็นในชาย โดยหญิงเป็นพาหะนำโรค มีจิตกรที่โด่งดัง John Dalton มีตาบอดสี จึงมักเรียกภาวะตาบอดสีแต่กำเหนิดว่า Daltonison

อาจแบ่งภาวะตาบอดสีแต่กำเหนิดออกเป็น 3 พวกใหญ่

กลุ่มที่เห็นสีเดียว (monochromatism) เท่ากับแยกสีไม่ได้เลย เห็นทุกอย่างสีเดียวหมด กลุ่มนี้มักจะสายตามัวมากจนไม่ได้คำนึงถึงการเห็นสี กลุ่มนี้อาจจะมี cell รับรู้การเห็นเฉพาะ rod cell เรียกว่า rod mono chromatismm หรือกลุ่มที่มี cell รูปกรวยชนิดเดียวซึ่งพบได้น้อยมาก และมักจะมีเฉพาะ blue cone

กลุ่มที่ขาด cone cell ไปกลุ่มหนึ่ง เหลืออยู่ 2 กลุ่ม จึงเรียกกันว่า dichromatism อาจจะขาด red cone เรียกคนกลุ่มนี้ว่า protanopia หรือขาด green cone เรียกคนกลุ่มนี้ว่า deuteranopia และผู้ที่ขาด blue cone เรียกคนกลุ่มนี้ว่า tritanopia กลุ่มนี้จะใช้ cone 2 สีที่เหลืออยู่แปลผลออกมาเป็นสีต่างๆ

กลุ่มที่มี cone ทั้ง 3 ชนิด ซึ่งถ้ามีครบทั้ง 3 ชนิด เรียกว่า trichromatism เห็นสีเช่นคนปกติทั่วไป แต่หากมีครบทั้ง 3 สี แต่มีตัวใดตัวหนึ่งน้อยกว่าปกติ รวมเรียกว่า anomalous trichromatism โดยมีถ้ามี cone สีแดงน้อกว่าปกติ อาจเรียกว่าพร่องสีแดง ก็เรียก protanomalous และคนที่มี cone สีเขียวน้อยกว่าปกติ (พร่องสีเขียว) เรียกว่า deuteranomalous และคนที่มี cone สีน้ำเงินน้อยไป (พร่องสีน้ำเงิน) เรียกว่า tritanomalous ในทางคลีนิคที่พบคนทั่วไปมักจะเป็น protanomalous หรือ deuteranomalous สำหรับ tritanomalous เชื่อว่าอาจไม่มีในคน ยังไม่มีผู้ใดตรวจพบผู้ป่วยลักษณะนี้

โดยสรุป ผู้ที่มีการเห็นสีบกพร่อง ซึ่งมักจะเป็นสีแดงหรือสีเขียว
  • ถ้าไม่มี red cone เลย เรียก protanope
  • ถ้าไม่มี green cone เลย เรียก deuteranope
  • ถ้ามี red cone น้อย เรียก protanomalous
  • ถ้ามี green cone น้อย เรียก deuteranomalous

ด้วยเหตุที่ red cone ดูดซับคลื่นแสงจาก 400 - 700 แต่สูงสุดที่ 570 nm และ green cone ดูดซับช่วง 400 – 650 และสูงสุดที่ 540 nm ซึ่งใกล้เคียงกันมาก เมื่อตรวจพบว่ามีภาวะบอดสีด้วงเครื่องมือง่ายๆ อาจแยกไม่ออกว่าพร่องหรือบอด แดงหรือเขียว ต้องมีการตรวจเพิ่มเติม

บทความโดย
ศ.พญ. สกาวรัตน์ คุณาวิศรุต
จักษุแพทย์ รพ. ตา หู คอ จมูก