Call Center

ตาบอดสี ตอนที่ 5

ตาบอดสียังพบในผู้ป่วยโรคตาบางชนิด กล่าวคือ ผู้ป่วยกลุ่มนี้เกิดมามีการเห็นสีปกติ มาเกิดการเห็นสีผิดปกติในภายหลัง เรียกว่า acquired color blind มักเกิดจากมีความผิดปกติของจอตา ประสาทตา ตลอดจนสมอง ทำให้มีการสูญเสีย cone cell ในจอตา และมักมีความเสียหายของ cone cell ทั้ง 3 ชนิด ในขณะที่ตาบอดสีแต่กำเหนิด มีความเสียหายเฉพาะ cone cell สีใดสีหนึ่ง ในบางครั้ง การตรวจว่าผู้ป่วยมีตาบอดสีชนิดใด นำมาช่วยวินิจฉัยโรคได้ และตาบอดสีในภายหลังมักจะมี

  • สายตาหรือลานสายตาผิดปกติด้วย
  • ความผิดปกติของการเห็นสีออกมาแปลก ๆ ตามโรคที่เป็น ไม่เข้ากับว่าเป็นบอดสีแดง เขียว
  • ตา 2 ข้างมักไม่เหมือนกัน (ตาบอดสีแต่กำเหนิดมักจะเหมือนกัน)
  • ความรุนแรงของการเห็นสีผิดไปมีขึ้นมีลง อาจจะเลวลงหรือดีขึ้น
  • ผู้ป่วยมักจะบอกได้ว่าเห็นสีอะไรผิดเพี้ยนไปจากเดิม
  • มักจะอยู่ในประเภทผิดปกติของสีน้ำเงิน-เหลือง ขณะที่ตาบอดสีแต่กำเหนิดมักออกมาเป็นผิดปกติของ แดง – เขียว
อย่างไรก็ตาม มีผู้สังเกตและตั้งกฎไว้เลย เรียกว่า Koller’s rule กล่าวไว้ว่า
  • โรคของประสาทตา มักจะเห็นสีแดง - เขียว ผิดไปจากมีการทำลาย cone แดง เขียว บริเวณ fovea ซึ่งเกือบไม่มี cone สีน้ำเงิน
  • โรคของจอตาด้านนอก มักจะเห็นสีน้ำเงินผิดไป ถ้าเป็นจอตาด้านใน มีความผิดปกติ – แดงเขียว

โดยสรุป โรคตาที่มักมีปัญหาการเห็นสีแดง - เขียว ได้แก่ ประสาทตาอักเสบ (optic neuritis), tobaco optic neuritis, leber's optic atrophy, papillitis, hereditary macular degeneration เป็นต้น ส่วนภาวะที่มักจะมีความผิดปกติของน้ำเงิน – เหลือง ได้แก่ ต้อหิน จอตาหลุดลอก โรค RP (retinitis pigmentosa), AMD, จอตาเสื่อมในผู้ป่วยสายตาสั้น DR, Retinal vascular occlusion, CSR, Methyl alcohol poisoning เป็นต้น และการเห็นสีผิดปกติ ในผู้ป่วยโรคเหล่านี้อาจหายได้ถ้าโรคต้นเหตุมีอาการดีขึ้น

บทความโดย
ศ.พญ. สกาวรัตน์ คุณาวิศรุต
จักษุแพทย์ รพ. ตา หู คอ จมูก