Call Center

ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา

เป็นที่ทราบกันดีว่า โรคเบาหวานก่อให้เกิดความผิดปกติของหลอดเลือดเล็ก ๆ ในอวัยวะหลายแห่งในร่างกาย รวมทั้งที่จอประสาทตา อุบัติการของภาวะจอตาเสื่อมจากเบาหวาน (Diabetic Retinopathy = DR) จากการที่คนเรามีอายุยืนขึ้น มีการรักษาโรคเบาหวานได้ดีขึ้น

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะ DR ได้แก่

  1. ระดับน้ำตาล ถ้าควบคุมได้ดีลดโอกาสของการเป็น DR ได้ 75% และแม้มี DR ก็ลดโอกาสสูญเสียสายได้ตาได้ 50%
  2. ความดันโลหิต หากควบคุมความดันโลหิตได้ดี มีผลลดอัตราการเกิด DR ได้พอ ๆ กับการควบคุมเบาหวานได้ดี
  3. ภาวะไขมันในเลือดสูง สัมพันธ์กับภาวะจอตาส่วนกลางเสื่อมจากเบาหวาน (diabetic macular edema) ซึ่งเป็นภาวะทำให้ตามัวลงใน DR มากที่สุด อีกทั้งมีการศึกษาพบว่าการให้ยาลดไขมันในหลอดเลือดร่วมกับคุมเบาหวานให้ดี ลดภาวะ DME และ DR ได้

โดยสรุป นอกจากควบคุมเบาหวานแล้ว หากมีภาวะความดันโลหิตสูงและไขมันในเลือดสูง ควรต้องควบคุมด้วย

การรักษา DR

  1. ใช้ฉีด Anti VEGF เข้าใน vitreous ในผู้ป่วย DME ปัจจุบันมีการใช้ Anti VEGF ในการรักษา DR มากขึ้น มีหลักการฉีดแตกต่างกันไปตามภาวะ DR ขั้นต่าง ๆ
  2. การรักษาด้วยแสงเลเซอร์ (laser pan retinal photocoagulation) ยังมีบทบาทโดยเฉพาะในผู้ป่วยภาวะ proliferative diabetic retinopathy (PDR) และภาวะ non central involvement ของ DME

ท่านที่เป็นเบาหวาน อย่าลืมพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจหาภาวะ DR นะคะ

บทความโดย
ศ.พญ. สกาวรัตน์ คุณาวิศรุต
จักษุแพทย์ รพ. ตา หู คอ จมูก