Call Center

Retinitis Pigmentosa (โรค RP)

เป็นโรคที่มีเรียกกันหลายชื่อ ได้แก่ Retinal degeneration, rod-cone dystrophy, tapetoretinal degeneration แต่มักเรียกกันว่าโรค RP ชื่อโรคอาจเข้าใจผิดว่ามีการอักเสบของ retina (มีคำว่า itis ตามหลัง retina) ความจริงเป็นความผิดปกติของจอตาที่เป็นกรรมพันธุ์โดยไม่มีการอักเสบ โดยเริ่มจากมึความผิดปกติไปทางเสื่อมของจอตาส่วนขอบ (peripheral retina) จึงทำให้ผู้ป่วยมาด้วยภาวะตามัวกลางคืน (night blindness) เพราะจอตาส่วนขอบมีเซลล์ rod ซึ่งช่วยการมองเห็นในที่สลัวหรือกลางคืน เป็นโรคที่ไม่มีวิธีรักษาเฉพาะเจาะจง จึงมักพบในเด็กโรงเรียนตาบอด

ตั้งแต่ปี 1982 มีการสัมมนา และให้ข้อช่วยการวินิจฉัยโรคนี้ว่า โรคนี้มีลักษณะ

  • เป็น 2 ข้าง
  • เริ่มจากมีการสูญเสียสายตาด้านข้าง
  • เริ่มด้วยมีการทำงานของ rod photoreceptor เสียก่อน (ตรวจได้ด้วย ERG)
  • มีการสูญเสีย photoreceptor cell ไปเรื่อย ๆ
  • อาจพบความผิดปกติที่ตาอย่างเดียว หรือมีความผิดปกติส่วนอื่นของร่างกาย เป็น syndrome ต่าง ๆ

อาการ

  • ตามัวยามค่ำ
  • มักจะเห็นแสงวาบเข้าตา (photopsia)
  • ตามัวขอบ ๆ ตรงกลางมักจะยังพอเห็น (การทดสอบการมองเห็นโดยการอ่าน chart ในระยะแรกของโรคอาจจะยังปกติ)
  • นานเข้าผู้ป่วยจะเห็นแคบ ๆ ลงจนในที่สุดบริเวณตรงกลางก็ค่อย ๆ มัวลง

การวินิจฉัย

  • ประวัติตามัวกลางคืน มีโรคนี้ในครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญ โดยไม่มีตาแดงหรือเจ็บตา
  • ตรวจพบลักษณะเฉพาะที่บริเวณจอตาอันได้แก่
    1. ขั้วประสาทตาสีซีด
    2. หลอดเลือดแดงจอตาตีบลง
    3. มีรอยโรคที่จอตาสีดำ ๆ เป็นหย่อม ๆ (bone spicule)
  • การตรวจพิเศษที่ช่วยวินิจฉัย คือการตรวจ ERG (electroretinogram)
  • ลานสายตาแคบ
  • การถ่ายทอดกรรมพันธุ์มีทั้ง autosomal dominant, recessive, sex link และ simplex

การรักษา

    ยังไม่มีวิธีรักษาที่เฉพาะเจาะจง ที่มีให้กันได้แก่
    • Fat soluble วิตามิน (ได้แก่ A,C,E)
    • Calcium channel blocker
    • Carbonic anhydrase enhibitor
    ทุกตัวยังไม่มีตัวไหนที่ได้ผลดีพอ

ข้อระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรค RP หรือเป็นยาที่อาจทำให้โรคเลวลง ได้แก่

  • isotretinoin (accutane)
  • sildenafil (Viagra)
  • high dose vitamin E
บทความโดย
ศ.พญ. สกาวรัตน์ คุณาวิศรุต
จักษุแพทย์ รพ. ตา หู คอ จมูก